Health

  • กรดไหลย้อน มีสาเหตุมาจากอะไร
    กรดไหลย้อน มีสาเหตุมาจากอะไร

    กรดไหลย้อน มีสาเหตุมาจากอะไร

    กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการชีวิตประจำวัน และเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยจะทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว

    กรดไหลย้อน อาการและมีสาเหตุจากอะไรบ้าง ?

    อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ ะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยก ของหนัก หรือการนอนหงาย ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ กลืนลำบาก, กลืนแล้วเจ็บ, เรอบ่อย, ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน, เสียงแหบเรื้อรัง เจ็บคอ และรู้สึก ระคายเคืองทางเดินหายใจ, เจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคกรดไหลย้อนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและโรคหอบหืด

    โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการแสบหน้าอก และหรือเรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการ ที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็น เลือดหรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัย ได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนและให้ การรักษาเบื้องต้นได้เลย โดยจะติดตาม ดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมี ความจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัว ของหลอดอาหาร และการตรวจวัด ความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่ง พบว่าได้ผลแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน

    หากมีอาการดังต่อไปนี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน

    • แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
    • มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
    • ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
    • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
    • เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
    • หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ
    • เจ็บคอเรื้อรัง

    สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

    • หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวโดยที่ยังไม่กลืนอาหาร
    • ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
    • ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
    • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
    • พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที การรับประทานของมันๆ มากเกินไป
    • ภาวะความเครียด  โดยผู้ที่มีความเครียดมักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
    • ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

    หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน ก็คือ พฤติกรรม “รับประทานแล้วนอน” ซึ่งการนอนจะทำให้หูรูดมีการทำงานที่ไม่ดี เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปได้ รวมไปถึงท่านอนราบยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้แล้ว การรับประทานอาหารและนอนทันที ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่า

    อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคกรดไหลย้อน มักพบในผู้ที่ทำงานออฟฟิศ เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคกรดไหลย้อนสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคใกล้ตัวที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน

    • รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานแล้วนอนทันที
    • ชอบรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นประจำ
    • ดื่มสุรา น้ำอัดลม
    • สูบบุหรี่
    • ผู้หญิงตั้งครรภ์
    • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
    • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    • ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
    • รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า เป็นต้น

    กรดไหลย้อน

    ปรับพฤติกรรม รักษา“กรดไหลย้อน”

    โรคกรดไหลย้อนพบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาและป้องกันโรคนี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ และช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

    • รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
    • ไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
    • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
    • รับประทานอาหารมื้อเย็น ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปมากเกินไป

    โรคกรดไหลย้อนหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จนกลายเป็นภาวะเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดแผลและรุนแรงจนหลอดอาหารตีบ และอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ เนื่องจากหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

    ป่วยเป็น “กรดไหลย้อน” ควรงดอาหารอะไรบ้าง

    กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มักมีอาการเป็นๆ หายๆ หากผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม โดยเฉพาะอาหารการกินที่ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น อาหารเหล่านี้คืออาหารที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยง

    1. อาหารไขมันสูง

    ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนควรงดอาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด ๆ อาหารมัน ช็อกโกแลต ฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ นม เนย ชีส ไอศกรีม หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น เนื่องจากไขมันจากอาหารเหล่านี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุก แน่น หรือร้อนที่กลางอกได้

    2. อาหารที่มีแก๊สมาก

    ไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม ชา กาแฟ โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสเผ็ดจัด หรือ ถั่ว เพราะอาหารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำย่อยมากยิ่งขึ้น

    3. น้ำส้มสายชู

    น้ำส้มสายชูจัดเป็นเครื่องปรุงรสที่มีกรดมาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนไม่ควรเติมน้ำส้มสายชูลงในอาหาร เพราะจะเป็นการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นไปอีก

    4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ สุรา ไวน์ ค็อกเทล หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด ผู้ป่วยกรดไหลย้อนควรเลี่ยง เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเปิดออก ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น

    5. ผลไม้ที่มีกรดมาก

    ผลไม้ที่ผู้ป่วยกรดไหลย้อนห้ามกินหรือควรเลี่ยงไว้เป็นดี คือกลุ่มผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น ส้ม องุ่น มะนาว มะเขือเทศ สับปะรด หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยวจัด รวมไปถึงซอสมะเขือเทศก็ควรเลี่ยงด้วยเช่นกัน

    6. ผักที่มีกรดแก๊สมาก

    อย่างเช่น หอมหัวใหญ่ดิบ กระเทียม พริก พริกไทย หอมแดง เปปเปอร์มินต์ หรือสะระแหน่ รวมทั้งผักดิบทุกชนิดก็ควรเลี่ยง เพราะผักเหล่านี้จะไปเพิ่มกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก

    7. อาหารหมักดอง

    อาหารหมักดองอย่าง ปลาร้า หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม กิมจิ ซูชิบางชนิดที่มีผักดอง ล้วนมีส่วนเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดอาการจุดเสียดแน่นท้องได้

    8. อาหารเสริมที่มีไขมันสูง

    แม้แต่อาหารเสริมบางชนิดก็ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอาหารเสริมจำพวกน้ำมันตับปลา สารสกัดจากกระเทียม วิตามินอี หรือวิตามินซีก็เสี่ยงเพิ่มกรดในกระเพาะได้เช่นกัน

    9. หมากฝรั่ง

    การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นการเพิ่มการหลั่งน้ำลาย ทำให้เราต้องกลืนน้ำลายลงท้องมากขึ้น เท่ากับว่าได้กลืนลมลงกระเพาะอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้นผู้ป่วยกรดไหลย้อนจึงไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อยๆ

    การมีวินัย ใส่ใจในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ไม่เพียงป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ แต่ยังลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและร้ายแรงอื่นๆ ได้อีกด้วย นอกจากการสังเกตอาการของตนเองแล้ว ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนบางราย อาจมีอาการแสดงอื่นๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ เจ็บหน้าอก ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจซักประวัติและวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน เช่น การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  ilovegkr.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • บริหาร จัดการหนี้ เมื่อรายรับลดลง
    บริหาร จัดการหนี้ เมื่อรายรับลดลง

    เมื่อรายรับลดลง ลูกหนี้มักกังวลใจว่า “หนี้ที่มีอยู่จะจ่ายได้อย่างไร” สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ตั้งสติ ยอมรับความเป็นจริงว่าเรากำลังเจอกับปัญหา เตรียมพร้อมแก้ไขปัญหา จัดการหนี้ และตั้งมั่นว่าจะไม่ก่อหนี้ใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาในครั้งนี้

    ขั้นตอนที่ 1 สำรวจหนี้สินที่มี

    เริ่มจากการสำรวจหนี้สินที่เรามีอยู่ ณ ปัจจุบัน ว่าเรามีหนี้ทั้งหมดกี่บาท แต่ละก้อนคิดอัตราดอกเบี้ยกี่เปอร์เซ็นต์ และเงินที่ต้องจ่ายแต่ละงวดมีจำนวนเงินทั้งสิ้นกี่บาท ถ้าจำไม่ได้ อาจจะลองดูจากใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินในงวดที่ผ่านมา แล้วเขียนแจกแจงออกมาในกระดาษ โปรแกรม Excel หรือ ตารางสำรวจภาระหนี้สิน เพื่อให้เราสามารถเห็นรายละเอียดของหนี้สินมากขึ้น ป้องกันการลืม และทำให้ง่ายต่อการวางแผน

    ขั้นตอนที่ 2 สำรวจและจัดทำแผนใช้เงินเพื่อเตรียมวางแผนชำระ จัดการหนี้

    หลังจากรู้ภาระของเราทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ สำรวจรายรับ รายจ่าย และทรัพย์สินที่เรามีอยู่ ว่ามีเพียงพอที่จะจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนได้หรือไม่ และหากไม่พอจ่าย สินทรัพย์ที่เรามีอยู่นั้น สามารถนำมาขายเพื่อใช้หนี้ได้หรือเปล่า ถ้าพร้อมแล้ว เริ่มต้นกันเลย…

    1. สำรวจรายรับ (เงินเข้า) ณ ปัจจุบัน เช่น เงินเดือน เงินทำงานพิเศษ รายรับจากค่าเช่า ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือรายรับที่ได้มาจากสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น เช่น เงินเยียวยา เงินประกันการว่างงาน แล้วรวมยอดออกมาเป็นรายรับรวมต่อเดือน
    2. สำรวจรายจ่าย (เงินออก) ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ทั้งรายจ่ายประจำ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทางไปทำงาน ค่าขนมลูก เงินให้พ่อแม่ และหนี้สินที่ต้องชำระ เช่น ค่าผ่อนบ้าน รถ (สามารถดูได้จากตารางสำรวจภาระหนี้สิน ที่ทำขึ้นในขั้นตอนที่ 1) แล้วรวมยอดออกมาเป็นค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน
    3. จัดทำแผนใช้เงิน (budgeting) ของตนเอง โดยเขียนแจกแจงรายละเอียดของรายรับและรายจ่าย พร้อมรวมยอดออกมาให้ชัดเจน เพื่อใช้ในการวางแผนการเงินในขั้นตอนต่อไป ดูวิธีการทำแผนใช้เงินได้ที่นี่
    4. เปรียบเทียบรายรับและรายจ่ายต่อเดือน ดูว่ารายรับที่มีอยู่ของเราในปัจจุบันเพียงพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นหรือไม่

    – หากรายรับมากกว่ารายจ่าย

    แสดงว่ารายรับที่เรามี สามารถชำระหนี้และใช้จ่ายได้ตามปกติ แต่หากเรามีความกังวลว่าเงินที่มีจะไม่พอใช้จ่าย ลองลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง เช่น ประหยัดน้ำ-ไฟ ซื้อวัตถุดิบราคาไม่แพงมาทำอาหารกินเองทีละหลาย ๆ มื้อ เปลี่ยน package ค่าโทรศัพท์ให้ถูกลง เพื่อให้มีเงินเหลือเผื่อใช้ในยามฉุกเฉิน

    – หากรายรับน้อยกว่ารายจ่าย

    แสดงว่ารายรับของเราไม่สามารถครอบคลุมรายจ่ายที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เราไม่สามารถใช้จ่ายได้ตามปกติหรือไม่มีเงินพอสำหรับชำระหนี้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเงินได้ในอนาคต เช่น เริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้ ถูกเบี้ยปรับ เป็นหนี้เสีย ประวัติเครดิตทางการเงินไม่ดี ส่งผลต่อการพิจารณาการให้สินเชื่อในอนาคต

    1. สำรวจทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีทรัพย์สินของเราชิ้นไหนที่สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที เช่น เงินออมในบัญชี เงินลงทุนและสลากออมทรัพย์ที่ครบกำหนดการขาย (หรือหากยังไม่ครบกำหนด ควรตรวจสอบเงื่อนไขก่อนว่าถ้าขายตอนนี้เลยจะขาดทุนหรือไม่) ทองคำ เครื่องประดับ พระเครื่อง รถ หรือทรัพย์สินต่าง ๆ โดยคำนวณเป็นราคาที่คาดว่าจะขายได้ ณ วันนี้เพื่อดูว่ายอดรวมจากการขายทรัพย์สินต่าง ๆ จะสามารถนำไปช่วยจัดการหนี้ได้หรือไม่ แต่หากอยากให้เห็นรายละเอียดชัดขึ้น

    จัดการหนี้ 2

    ขั้นตอนที่ 3 เริ่มปฏิบัติการ! สร้างแผน จัดการหนี้

    เมื่อเห็นว่ารายจ่ายที่มีอยู่มากกว่ารายรับที่มีในปัจจุบัน และอาจไม่มีเงินพอสำหรับใช้หนี้เมื่อมีรายรับลดลง ดังนั้น ได้เวลาเริ่มปฏิบัติการวางแผนการจัดการหนี้ โดยเริ่มจาก

    1. จัดประเภทและเรียงลำดับหนี้สิน โดยใช้ข้อมูลจากตารางสำรวจภาระหนี้สินในขั้นตอนที่ 2 มาจัดออกเป็น 2 กลุ่มคือ

    1) หนี้สินระยะสั้น คือ หนี้สินที่มียอดคงเหลือไม่สูงมาก สามารถขายทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วนำมาโปะหรือปิดหนี้ได้

    2) หนี้สินระยะยาว คือ หนี้สินที่มียอดคงเหลือค่อนข้างสูง มีระยะเวลาผ่อนชำระนาน ไม่สามารถขายทรัพย์สินเพื่อมาโปะหรือปิดหนี้ได้ทันที

    จัดกลุ่มหนี้แล้วก็ลองนำรายการหนี้แต่ละประเภทมาเรียงลำดับเพื่อเตรียมการวางแผนจัดการหนี้ตามรายรับที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยอาจเลือกจัดการกับหนี้สินประเภทใดประเภทหนึ่งก่อน เช่น

    1.1 หนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงที่สุด เพื่อเป็นการช่วยประหยัดเงินค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย

    1.2 หนี้ที่มียอดคงเหลือน้อยที่สุด การจัดการหนี้ที่ยอดคงเหลือน้อยสุดให้หมดไปก่อน จะทำให้เรามีเงินเหลือเพื่อนำไปชำระหนี้ก้อนอื่นได้ และช่วยสร้างกำลังใจในการบริหารจัดการหนี้สินก้อนต่อ ๆ ไป

    1. หาวิธีแก้ไขปัญหาหนี้

    2.1 ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ลองลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง เช่น ประหยัดน้ำ-ไฟ ซื้อวัตถุดิบราคาไม่แพงมาทำอาหารกินทีละหลาย ๆ มื้อ ลดการชอปปิง หรือเพิ่มรายได้ตามทักษะที่มี เช่น สอนพิเศษ ทำงานประดิษฐ์ ขายของออนไลน์ เพื่อให้มีเงินเหลือไปใช้จ่ายหนี้

    2.2 ตัดสินใจขายทรัพย์สินที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อลดภาระหนี้ หากลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แล้วแต่เงินที่มีก็ยังไม่พอต่อการชำระหนี้ ขอแนะนำให้ลองสำรวจ

    ทรัพย์สินที่อาจขายได้ และตัดใจขายเพื่อนำเงินบางส่วนไปชำระหนี้ โดยใช้ ตารางสำรวจทรัพย์สินที่สามารถขายได้เป็นเครื่องมือในการสำรวจ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับตารางสำรวจภาระหนี้สินเพื่อดูว่าหากขายทรัพย์สินเหล่านั้นออกไปจะสามารถนำเงินที่ได้ไปจัดการหนี้สินก้อนไหนก่อนได้บ้าง

    2.3 ติดต่อสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ หากลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขายทรัพย์สิน แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการชำระหนี้ แนะนำให้รีบติดต่อสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อขอเจรจาต่อรองการชำระหนี้โดยไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินอาจมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินหลายรูปแบบ เช่น ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รีไฟแนนซ์ ยืดระยะเวลาหนี้ พักชำระหนี้ชั่วคราว ลดอัตราดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการเจรจาร่วมกัน และที่สำคัญที่สุด ก่อนตัดสินใจรับข้อเสนอในการปรับโครงสร้างหนี้ ต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของตนเองให้ดีก่อน ไม่รีบร้อนยอมรับเงื่อนไขที่ตนเองไม่สามารถทำได้

    ขั้นตอนที่ 4 ทำตามแผนอย่างเคร่งครัด

    เมื่อมีข้อมูลครบถ้วนแล้วทั้งรายรับ รายจ่าย หนี้สิน แผนการชำระหนี้ หรือมาตรการช่วยเหลือที่สามารถบรรเทาภาระหนี้ในช่วงที่มีรายรับลดลง และทรัพย์สินที่สามารถขายได้ สิ่งสำคัญที่ต้องทำต่อไปคือ ทำตามแผนการชำระหนี้อย่างเคร่งครัด เช่น

    –  ชำระหนี้สินตามแผนที่วางไว้

    –  เมื่อขายทรัพย์สินได้ต้องนำเงินไปโปะหรือปิดหนี้อย่างที่ตั้งใจไว้ ไม่นำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น

    –  ไม่ละเลยการชำระหนี้ทุกก้อนที่มี โดยเฉพาะหนี้ที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิต เช่น หนี้บ้าน หนี้รถที่จะต้องขับไปทำงาน เพราะหากผิดนัดชำระหนี้ ถูกยึดบ้านและรถ ก็อาจจะส่งผลให้ไม่มีรถขับไปทำงาน หรือไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นต้น

    –  จ่ายหนี้ให้ตรงเวลาและตามจำนวนที่ได้ทำการเจรจาร่วมกับเจ้าหนี้

    –  หากอยู่ระหว่างการพักชำระหนี้ ต้องทยอยออมเงินที่ต้องชำระเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการพักชำระหนี้

    –  ถ้าระหว่างทางเกิดจ่ายไม่ไหว ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้เพื่อขอเจรจาใหม่

    –  ไม่ก่อหนี้ใหม่มาแก้ปัญหาหนี้ที่มีอยู่ เพราะหากผิดนัดชำระหนี้อาจส่งผลให้หนี้ที่ต้องจัดการมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่จบสิ้น

    ขั้นตอนที่ 5 ปรับพฤติกรรมหลังผ่านพ้นวิกฤต

    เมื่อฝนหยุด ฟ้าเปิด เริ่มมีรายรับเข้ามาเป็นปกติ สิ่งที่ควรทำต่อไปมีดังนี้

    1. ออมก่อนใช้ เมื่อมีรายรับเข้ามา ควรหักออมแยกในบัญชีเงินออมอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มต้นที่ 10% ของรายรับ และสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกจากการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ หรือหลังผ่อนหนี้หมดบางก้อน เพื่อเตรียมไว้สำหรับเป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิต เช่น ใช้ในยามฉุกเฉิน ตามความฝัน ปลดหนี้ ลงทุน หรือวางแผนเกษียณ
    2. เริ่มออมเงินเผื่อฉุกเฉิน คือ เงินออมก้อนแรกที่ควรมีในชีวิตสำหรับใช้ในยามเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ตกงาน โดยทยอยสะสมไว้ให้ได้ 3-6 เท่า ของค่าใช้จ่ายจำเป็นและภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน ฉุกเฉินเมื่อไหร่จะได้นำออกมาใช้ ลดโอกาสการก่อหนี้ใหม่
    3. จัดทำแผนใช้เงิน โดยแยกประเภทค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น อาหาร ค่าที่พัก เดินทาง หนี้สินที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อาจตั้งไว้ไม่ให้เกิน 10% ของรายรับ และพยายามไม่ใช้เงินเกินจากงบประมาณที่ตั้งไว้ ศึกษาวิธีจัดทำแผนใช้เงิน

    ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    Magic Eraser บน Pixel 7 แก้ไขรูปภาพของคุณ
    ธนาคารไทยพาณิชย์ ขึ้นดอกเบี้ย มีผล 7 ธ.ค. 65
    Business Together To Make Investments
    ผู้ป่วยจะต้องเจอกับอะไรบ้าง เมื่อไปโรงพยาบาลรัฐ
    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.ilovegkr.com/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.bot.or.th